คุณสมบัติสำคัญของผู้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู

มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ธปท เป็นหนึ่งในโครงการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องการให้ความช่วยเหลือเยียวยาระยะสั้นแก่ลูกหนี้ในปัจจุบัน อีกทั้งสินเชื่อฟื้นฟูยังมีดอกเบี้ยสินเชื่อที่ต่ำจึงเหมาะแก่การเป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจ (สินเชื่อธุรกิจ) และสินเชื่อปิดบัตรเครดิตท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน 

อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูได้ ประกอบไปด้วย

  1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยและมีสถานที่ประกอบการในประเทศไทย
  2. กรณีเป็นลูกหนี้เดิม ต้องมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท และไม่เป็นลูกหนี้ NPL ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 / กรณีเป็นลูกหนี้ใหม่ ต้องไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง
  3. ไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ยกเว้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
  4. ลูกหนี้เดิม ขอสินเชื่ออนุมัติด่วนได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินในแต่ละสถาบันการเงิน (ไม่เกิน 150 ล้านบาท) / ลูกหนี้ใหม่ขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท
  5. ระยะเวลาสินเชื่อ 5 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปีถูกกว่าพวกสินเชื่อบัตรเครดิตมากๆ

ผู้ประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อฟื้นฟู มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างไหม?

ในปี 25662566 นี้ ผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นขอสินเชื่อเงินด่วนออนไลน์หรือลงทะเบียนสินเชื่อฟื้นฟูจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

  1.  ดอกเบี้ย กล่าวคือ ผู้ประกอบการไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสินเชื่อฟื้นฟูในช่วง 6 เดือนแรก และจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปีใน 2 ปีแรกของสัญญา เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปีในช่วง 5 ปีแรกของสัญญา ตามอัตราที่สถาบันการเงินกำหนดโดยสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของตัวผู้ประกอบการ
  2. ค่าธรรมเนียม กล่าวคือ ผู้ประกอบการไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้แก่สถาบันการเงิน รวมทั้งดอกเบี้ยผิดนัดชำระในส่วนของสินเชื่อฟื้นฟู ธปท ยกเว้น ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันที่จ่ายให้บรัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อยม (บสย.) ตามอัตราที่ กหนดร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินที่ค้ำประกัน โดยที่กระทรวงการคลังจะช่วยจ่ายชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันในปีที่ 3 ถึงปีที่ 7 รวมแล้วร้อยละ 3.5 ของวงเงินที่ค้ำประกัน

ระยะเวลาในการขอสินเชื่อฟื้นฟูนานไหม?

หนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการอยากรู้เกี่ยวกวับสินเชื่อฟื้นฟู ธปท คือ ระยะเวลาสินเชื่อประมาณกี่ปี เพราะจะได้นำมาคำนวณว่าสามารถผ่อนไหวหรือไม่ ทั้งนี้ผู้ประกอบสามารถขอวงเงินกู้เงินด่วนธนาคารผ่านสินเชื่อฟื้นฟูที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี แต่หากต้องการขอวงเงินสินเชื่อที่ยาวนานกว่านั้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินเป็นรายบุคคลไป ซึ่งสถาบันการเงินอาจคิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่แตกต่างจากช่วง 5 ปีแรก ตามต้นทุนและความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืม อย่างไรเสีย การขอสินเชื่อฟื้นฟูในปี 2023 นี้ ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นทางแก้ไขปัญหาที่ดีกว่าแหล่งเงินกู้ออนไลน์ธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ระยะ 5 ปีก็ไม่ได้ถือว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป หากแต่เป็นระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรแก่การชำระหนี้ให้ครบตามจำนวนที่กู้ยืมมา เป็นไปได้ว่าระหว่าง 5 ปีนี้ เศรษฐกิจประเทศไทยอาจจะมีแนวโมที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทและผู้ประกอบการทุกคนมีรายได้เข้ามามากขึ้น

แนะนำแหล่งเงินด่วนนี้ด้วย